อ่าวทุ่งนุ้ย สร้างชีวิต
เสียงเด็กกลุ่มหนึ่งดังขึ้นที่อ่าวทุ่งนุ้ย หอบอุปกรณ์จับปู เนื้อตัวเปื้อนไปด้วยโคลน สีหน้ามีความสุข เมื่อเข้าไปพูดคุยเด็กๆ เล่าเสียงเจื้อยแจ้วว่าว่างจากเรียนก็ชวนกันมาหาปูกันที่นี่ เมื่อเช้าเอาไปขายได้มา 300 บาท เอาไปให้แม่เรียบร้อยแล้ว พร้อมอธิบายวิธีการใส่เหยื่อด้วยปลาตัวเล็กๆ อย่างชำนาญ ก่อนจะเดินจากไปเพื่อวางอุปกรณ์ดักปู ทิ้งความสนใจอ่าวทุ่งนุ้ยไว้ให้กับเรา...
ตามสืบกับบังหลี (อารีย์ ติงหวัง ผู้ใหญ่บ้าน) บ้านหลอมปืนจ.สตูล เล่าว่า เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่นี่ มี 2-3 กลุ่ม เขาจะมาตกปูหารายได้จากอ่าวนี้เป็นประจำช่วยเหลือพ่อแม่ ตามภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบต่อกันมา เป็นความรู้นอกห้องเรียน ซึ่งจำเป็นต้องมีประสบการณ์ในการดักจับปู
ปัจจุบันทรัพยากรอ่าวทุ่งนุ้ยในวันนี้ได้สร้างมูลค่ามหาศาล หากตีเป็นตัวเงิน ไม่น่าเชื่อว่า เฉพาะหอย (หอยแครง หอยคราง หอยแดง) เพียงอย่างเดียว ที่เก็บข้อมูลไว้ได้ปีหนึ่งมีรายได้ถึง 17 ล้านบาททีเดียว
ปัจจุบันทรัพยากรอ่าวทุ่งนุ้ยในวันนี้ได้สร้างมูลค่ามหาศาล หากตีเป็นตัวเงิน ไม่น่าเชื่อว่า เฉพาะหอย (หอยแครง หอยคราง หอยแดง) เพียงอย่างเดียว ที่เก็บข้อมูลไว้ได้ปีหนึ่งมีรายได้ถึง 17 ล้านบาททีเดียว นอกจากนี้อาชีพที่กำลังเข้ามาในอ่าวคือ จับกุ้งด้วยมือ เริ่มมีปลาดุกทะเลเข้ามา มีหอยสองฝาชนิดใหม่อาศัยอยู่ตามรากต้นโกงกาง โลละประมาณ 20 บาท แมงดาทะเล ตัวหนึ่งราคา 120 บาท จึงเป็นฐานเศรษฐกิจหลักของชาวบ้านอ่าวทุ่งนุ้ยเมืองสตูลจริงๆ เนื่องจากการพัฒนาของชุมชนเมื่อ 10 ปีที่แล้วตอนที่ทรัพยากรธรรมชาติที่ขาดการพัฒนา จนถึงตอนนี้กลายเป็นเขตพื้นที่ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรประมง ชุมชนบ้านหลอมปืน ครอบคลุมพื้นที่ 0.32 ตร.กม. ตามแผนการบริหารจัดการประมงชุมชนโครงการพัฒนาตามแผนแม่บทการจัดการประมงทะเลไทย และแรงช่วยเหลือของภาครัฐและชุมชน ปฏิบัติตามข้อปฎิบัติและข้อบังคับหลายๆอย่าง ทำให้ชาวบ้านมีปากท้องที่ดีขึ้น เด็กๆมีความสุข สนุกกับชุมชนของตนเอง และรักท้องถิ่นของตน อนาคตต้องเป็นผู้ใหญ่ที่มีความสุขอย่างแน่นอน อ้างอิง : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง , google