เพลงอีแซว
เพลงอีแซว เป็นเพลงพื้นบ้านประจำท้องถิ่นของ สุพรรณบุรี มีกำเนิดและแพร่หลายในเขตจังหวัดสุพรรณบุรีและใกล้เคียง เพลงอีแซวมีความเป็นมาที่ยาวนาน มากกว่า ๑๐๐ ปีโดยในช่วงแรกๆ นั้นมีลักษณะเป็นเพลงปฏิพากย์ ( เพลงโต้ตอบ ) ที่หนุ่มสาวใช้ร้องยั่วเย้า เกี้ยวพาราสีกันอย่างง่ายๆ สั้นๆ กระทั่งเมื่อ ๖๐ - ๗๐ ปีที่ผ่านมาจึงได้พัฒนาเป็นเพลงปฏิพากย์ยาวคือมีเนื้อเพลงที่ใช้ร้องในแต่ละครั้งยาวมากขึ้น พร้อมกับมีการดัดแปลงทำนองและลักษณะการร้องรับของลูกคู่ นอกจากนั้นยังได้มีการพัฒนาเสื้อผ้าของผู้แสดง โดยจะนุ่งโจงกระเบนทั้งฝ่ายชายและหญิง ส่วนเสื้อนั้นฝ่ายหญิงจะใส่เสื้อแขนสั้นคอกลมหรือ คอเหลี่ยมกว้าง ฝ่ายชายมักจะใส่เสื้อแขนสั้นคอกลม สร้างสรรค์ความสะดุดตาด้วยสี ที่ฉูดฉาดเพื่อดึงดูดใจผู้ชม ด้วยความนิยมในเพลงอีแซวทำให้สามารถแสดงได้เกือบทุกสถานที่และทุกโอกาส ณ ปัจจุบันก็ยังมีการสืบสานอนุรักษ์บทเพลงและการขับขานทำนองอีแซว ผ่านศิลปินแห่งชาติ
แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ....ตำนานแม่เพลงอีแซว ศิลปินแห่งชาติ (เพลงพื้นบ้านแห่งยุค) ปี 2539
เป็นอีกหนึ่งศิลปินที่สืบสานวัฒนธรรมไทย โดยท่านสนใจเพลงพื้นบ้านมาตั้งแต่อายุ 15 ปี เป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือ และวรรณคดีเก่าๆของไทยอ่านแล้วก็นำเนื้อหานั้นมาแต่งเป็นเพลงอีแซว ร้องเล่นจนเกิดความแตกฉานทำให้เป็นที่ชื่นชอบของนักฟังเพลงอีแซว และยังได้รางวัลมากมายอีกด้วย
ติดตามประวัติความเป็นมากับอนิเมชั่นผ่านสื่อ
ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวแบบ Salah Nakbumrung https://www.youtube.com/watch?v=-SEDvR_uvvo
อ้างอิง : wikipedia , Salah Nakbumrung ,ช่อง7